ข่าวที่ต้องดูทุกวันเพื่อประกอบการตัดสินใจในการ Trade Forex

News

ค่าเงิน สกุลหลัก


ForexProsThe Rates are Powered by Forexpros - The Forex Trading Portal
ik8k

กราฟค่าเงินสกุลหลัก


ForexProsForex Charts Powered by Forexpros.com - The Forex Trading Portal.

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการอ่านตารางข่าว FOREX

ดูตารางข่าวได้ที่ http://www.forexfactory.com/

จากตารางข่าวด้านบน จะประกอบด้วย Date(วันที่) ,Time (เวลา), Currency(ค่าเงิน), Impact(ความแรงของข่าว) ,Actual (ตัวเลขที่ออกจริง),
forecast(ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์) ,previous(ตัวเลขที่ออกก่อนหน้านั้น)Impact
สีแดงจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือสีส้ม และสีเหลือง
และสีข่าวจะแสดงว่าเป็นวีนหยุดของตลาดของประเทศนั้นและตัวเลขจริงที่ออก มาActual ตัวเลขที่ออกมาจะมี 3 สีด้วยเช่นกัน คือ

สีเขียวคือข่าวดี
สีแดงคือข่าวไม่ดี
สีดำคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ทั้งนีี้้ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย Impact ถ้าข่าว High Impact สีแดง
และตัวเลขที่ประกาศออกมา เป็นสีเขียวหรือสีแดง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงประมาณ 100 pips ขึ้นไป

-วิธี การเก็งกำไรจากข่าวในตาราง Forexfactory ให้รอดูตัวเลขจริง Actual ออกมาก่อนนะครับ เมื่อตัวเลขจริง(actual)ออกมามากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขที่คาด การณ์(forecast)ไว้จะส่งผลทำให้ดีกับค่าเงินนั้นๆ แต่ถ้าตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้จะส่งผลเสียกับค่าเงิน นั้นๆ เช่น ถ้าข่าวของ USD ออกมามากกว่า
ตัวเลขคาดการณ์(Forecast) จะทำให้ USD / XXX ขึ้น และทำให้ XXX / USD ลง ( XXX คือ ค่าเงินของประเทศนั้นๆเมื่อเทียบกับดอลล่าห์สหรัฐ(USD)อาทิเช่น JPY CHF CAD AUD NZD GBP )
ถ้าข่าว Gross Domestic Product หรือ GDP ของอังกฤษ(GBP) ตัวเลขออกมามากกว่าที่ตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์เอาไว้จะส่งผลให้ กราฟของ GBP/USD , GBP/JPY,GBP/CHF ขึ้น และกราฟ EUR/GBP จะลง

ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ

1. สำคัญมาก
ชื่อ ก็บอกอยู่ แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อัน นี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้

คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ
โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน
แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?

1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำ ที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน

เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)

ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )
ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)
กลุ่มสำคัญมาก
Trade Balance
โดย ปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
จะ ประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศ ทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศ ทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศ ทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะ ประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales
ประกาศ ทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออก ทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

กลุ่มสำคัญ

Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศ ทุกวัน พฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending
ประกาศ แถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การ ประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders
ประกาศ แถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM
ออก ทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey
ออก ราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออก ราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Current Account Balance
ออก ราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Confidence
ออก ทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

Leading Indicators
ออก ราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

IFO Business Indexes
ประกาศ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูง หมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเทรดโดยใช้ Pivot

สวัสดีครับทุกท่าน นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ผมใช้เทรดในปัจจุบัน ถ้ากราฟไหนตรงเงื่อนไขนี้ผมก็มักจะใช้มันในการเทรด ไม่ยากครับวิธีนี้ ง่ายๆ แค่หาจุดกึ่งกลางราคาของราคาเมื่อวานนะครับ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกะไอ้เจ้า Pivot กันก่อนนะครับ ว่ามันมีความสำคัญยังไง Pivot คือ ราคากึ่งกลางของช่วงเวลาที่เราวัด จากจุดสูงสุดถึงต่ำสุด (งงมั้ยครับ.. อิอิ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน..เอาเป็นว่าเข้าใจกันนะ) เราจะหา Pivot หรือจุดกึ่งกลางได้ยังไง จุด Pivot เราจะหากันจากกราฟของเมื่อวานนะครับ เราดูราคาสูงสุด ( High = H ) ราคาต่ำสุด ( Low =L ) และราคาปิด ( Close=C) เปิดกราฟ Daily นะครับ แล้วใช้เม้าท์ชี้ที่แท่งเทียน แล้วมันจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับราคาพวกนี้นะครับ ( สำหรับท่านที่เทรด Marketiva นะครับ ) ดูรูปด้านล่างนะครับ
เห็น กรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆกันมั้ยครับ ในนั้นจะบอกราคา Open ,High, Low, Close ครับ เราจะใช้ราคา High , Low , Close มาใช้ในการคำนวณเพื่อหา Pivot นะครับ
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่า Pivot คือ
Pivot = (High + Low +Close)/3
จุดกึ่งกลางเท่ากับ ราคาสูงสุด บวก ราคาต่ำสุด บวก ราคาปิด แล้วเอาทั้งหมด มาหารด้วย 3 ครับ
หรือ P = (H+L+C)/3
จากตัวอย่างเรา ลองคำนวณกันเล่นๆนะครับ
แทนค่าที่ได้ลงไปในสูตรเลย
High = 1.2577 , Low=1.2353, Close=1.2367
แทนลงไปในสูตรข้างบนครับ
Pivot = ( 1.2577+1.2353+1.2367) เราก็จะได้ ค่า Pivot เท่ากับ 1.2432
พอ เราได้ค่า Pivot ของเมื่อวานแล้ว เราก็มาดูกราฟของวันนี้เลยครับ ดูราคาว่ามันวิ่งกลับไปเทสที่ Pivot มั้ย ถ้ามันไปเทส หรือราคาไกล้เคียง เราก็เตรียมเข้าออเดอร์กันได้เลยครับ
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ นอกจากเราจะใช้ค่า ราคา High Low Close ในการหา Pivot ได้แล้ว เรายังสามารถใช้ ราคาเหล่านี้ราคา แนวรับและแนวต้านของกราฟได้อีกด้วย เรามาดูกันครับ ว่าหากันยังไง
เมื่อเราได้ค่า Pivot , P แล้ว เราเอา P มาใส่ใน สูตรเหล่านี้นะครับ
อิอิ ผมขออธิบายศัพท์ก่อนนะครับ ลืมๆ
จุด กึ่งกลาง , Pivot, P
แนวรับ (Suport)
แนวรับที่ 1, Support 1 , S1
แนว รับที่ 2, Support 2 , S2
แนวรับที่ 3, Support 3 , S3
แนวต้าน( Resistance)
แนวต้านที่ 1 , Resistance 1, R1
แนวต้านที่ 2 , Resistance 2, R2
แนวต้านที่ 3 , Resistance 3, R3
เรามาดูสูตรที่ใช้ ในการคำนวณค่าเหล่านี้เลยครับ
P=(H+L+C)/3
S1=P-0.382(H-L)
S2=P-0.50(H-L)
S3=P-0.618(H-L)
R1=P+0.382(H-L)
R2=P+0.50(H-L)
R3=P+o.618(H-L)
เรา จะเห็นว่า มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตัวเลขพวกนี้เป็นตัวเลข Fibonacci Number ครับ เด๋วรายละเอียดเราค่อยมาว่ากันในบทความต่อไป หรือถ้าท่านใดอยากศึกษา Search Google เลยครับ มีเพียบบบ
จากสูตรข้างบน เราก็จะได้แนวรับและแนวต้าน พอได้แล้ว เราก็ใช้ Horizontal line แปะไว้บนกราฟเลยครับ ( สำหรับ คนที่เทรด marketiva นะครับ คลิกขวาที่กราฟ แล้วเลือก Indicators >> Horizontal Line )
เพียงแค่นี้ก็จะมีแนว รับแนวต้านของวันอยู่บนกราฟเราละครับ

มา เข้าเรื่องกันต่อครับ การใช้ Pivot ในการเทรดยังไมได้เห็นภาพกันเลย ผมจะใช้กราฟของโปรแกรม Mt4 นะครับ ในการอธิบาย และใช้ Fibonacci Retracement ในการหา ค่า Pivot ค่า Pivot ก็คือค่า 50 % ใน Fibonacci นั่นเองครับ
ก่อนอื่นเซตกราฟ ใน Mt4 ของท่านก่อนนะครับ คลิกขวาที่กราฟ แล้วเลือก Properties ครับ ตามรูปด้านล่างเลยนะครับ
จากนั้น ก็ไปคลิ็ก ที่ช่อง Common แล้วก็ติ็ก ตามรูปเลยนะครับ แล้วกดปุ่ม OK
พอกด OK แล้วจะได้กราฟ หน้าตาแบบนี้นะครับ คลิกขวา เลือก Periodicity ที่ 15 minutes
จากรูป เราจะเห็นเส้นปะแนวตั้ง เส้นนี้คือ มันจะแบ่งช่วงของราคาวันต่อวันครับ เราก็สามารถรู้จุดสูงสุดและต่ำสุดของอดีตได้
เอา ล่ะครับ เกริ่นนำมานานมาก หลายท่านคงบ่นแล้วสิ เมื่อไรมึงจะเข้าเรื่องซักทีวะ ++ ใจเย็นๆครับ ท่าน เด๋วผมขอนอกเรื่องนอกซักเรื่องครับ เป็นการตั้งค่า Fibonacci ให้บอก จุด pivot แสดงราคาให้เราได้ด้วย เริ่มกันเลยครับ
ให้ ไปคลิกที่ Insert แล้วก็เลือก Fibonacci แล้วเลือก Retracement นะครับ พอเลิกแล้ว มันจะติดอยู่ที่เมาท์ของเรา เอามันไปจิ้มที่ยอด สูงสุดก่อนครับของช่วงเวลาเมื่อวานนี้ ที่อยู่ในกรอบเส้นปะอ่ะครับ
พอ จิ้มที่สุดสูงสุุด จิ้มค้างไว้นะครับ อย่าพึ่งปล่อยเมาท์ แล้วลากมันลงมาหาจุดต่ำสุดของวันครับ ลากลงมาเลยครับท่าน เราก็จะได้ดังรูปด้านล่างนี้ครับ
จาก นั้น ให้ให้คลิกขวาที่ตัว Fibonacci มันจะมีจุดขาวๆขึ้นมาแล้วเลือก Fibonacci Properties หรือไม่เราก็คลิกขวาที่กราฟครับ แล้วเลือก Objects List แล้วเลือก Fibo แล้วคลิกที่ Edit จากนั้น จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาตามรูปด้านล่างเลยครับ
ให้ เลือกที่ Fibo Levels นะครับ แล้วให้เรา พิมคำว่า =%$ ต่อท้ายตัวเลขที่ช่อง Descripttion ให้หมดทุกตัวเลยนะครับ ยกเว้น ที่ ช่อง 50 ให้ลบออกครับ แล้วพิมคำว่า Pivot=%$ ลงไป จะได้ตามรูปครับ
ครับ และแล้วเราก็ได้ Pivot แล้ว ซึ่งเป็นราคา Pivot ของวันที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเรามาใช้ในการสังเกตการณ์ในกราฟของวันนี้ ที่เรากำลังเล่นอยู่ จากรูปจะเห็นว่า ราคา Pivot อยู่ที่ 1.4933 ซึ่งในช่วงตลาด โตเกียว ราคาจะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นไป จนใกล้ถึงจุด Pivot ของเรา ถ้าราคาไม่สามารถทะลุผ่าน Pivot ขึ้นไป ให้เปิด Sell ได้ทันที จากนั้นก็รอราคาลงมาเรื่อยๆ จนเราพอใจ แล้วเราค่อยปิด เอากำไร การตั้ง stop Loss ของวิธีนี้ ควรตั้งอยู่เหนือ ราคา 61.8( ในกรณีที่เรา Sell แต่ถ้าเรา Buy ก็ตั้งต่ำกว่า 38.2 ไว้ประมาณ 10 จุด) ข้อสังเกตอีกอย่างของวิธีการนี้คือ ถ้าราคาทดสอบ ที่บริเวณ Pivot หรือใกล้เคียงราคา Pivot ให้เราคิดไว้เลยว่า ไม่นานมันจะกลับตัว หรือไม่ก็รอแท่งเทียนยืนยันการกลับตัว ถ้ามีแท่งเทียนกลับตัว เราก็เปิด ออเดอร์ตามมาเลย ดูภาพด้านล่างนะครับ ภาพตัวอย่างนี้ ราคาวิ่งไม่ถึง จุด Pivot แล้วลงมาทันที แล้วลงเยอะด้วย ใคร Sell กำไรบานเลยครับ ดูรูปด้านล่างกันเลยครับ
ไม่ยาก นะครับวิธีนี้ ง่ายๆ แต่ต้องรอหน่อย รอแค่จุด Pivot วันนึงเราอาจจะได้เทรดแค่ครั้งเดียว หรือสองครั้ง
วิธีนี้เหมาะสำหรับ Day Trade นะครับ เล่นรายวันยาวๆหน่อย เด๋วดูตัวอย่างประกอบกันเลยครับ
หวัง ว่าวิธีนี้คงทำให้ทุกคนที่อ่านบทความนี้มีกำไรจากฟอเร็กซ์นะครับ .. ขอให้ร่ำรวยครับ ^^ pipsrunner
Buy ที่ Pivot สบายๆเลยครับ
ราคา กลับมาเทสที่ Pivot สองครั้ง ไม่ผ่าน เรา Sell ได้เลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

คำเตือนจาก SUPPORT

อย่าโลภ ควรตั้ง Lot ต่ำสุดไว้ก่อน  และให้เทรดเพียงคู่เดียวเท่านั้น คุณจะอยู่รอดอย่างปลอดภัย ตอนนี้แนะนำให้เทรด GBPUSD เพียงคู่เดียวก่อนะจ๊ะ ถ้าอยากเทรด EURUSD  ให้ใส่เทรดมือเอาครับ

กำไรน้อย คือ กำไรมาก
กำไรมาก คือ  กำไรน้อย 
เพราะทุนจะหายไปหมด

คิดว่าเราทำกำไร 10% ต่อเดือนก็เพียงพอ มี 10,000$ คุณได้เดือน ละ 1,000$ แบบปลอดภัย คุณว่าดีไหม ถ้ามี 10,000$ แล้วเทรดแบบกำไรสูง (เสี่ยงสูงคุณอาจเสียเงินทั้งหมด)

แล้วคุณคิดอย่างไร เอากำไรน้อย หรือ กำไรมาก คิดเอาเอง?????

ด้วยความปรารถนาดี

www.myfxauto.com

คำถามสุดฮิตใน FOREX

เริ่มเล่น Forex เริ่มเทรดใหม่ๆ คำถามสุดฮิต

เริ่มเล่น Forex เริ่มเทรดใหม่ๆ คำถามสุดฮิตที่มักจะถามกันก็คือ ควรเริ่มเล่น Forex คู่ไหนดี? แล้วควรเทรด Forex เวลาไหน?

เรามาคลายขอสงสัยกันที่ละคำถามนะครับ

ข้อแรก ควรเริ่มเล่น Forex คู่ไหนดี?ริ่ม เล่น ผมแนะนำ EUR/USD เพราะ Spread ไม่มาก คู่นี้ Swing ไม่แรง และ อ่านกราฟ อ่าน Pattern ได้ง่ายกว่าคู่อื่นๆ และที่สำคัญ EUR/USD เป็นคู่ที่คนนิยมเล่นกันเยอะ ดังนั้นเราจะสามารถหาข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจได้ง่าย และ หลากหลายกว่าเล่นคู่อื่นๆ เมื่อเริ่มจะพอมี ประสบการณ์ หรือมีความชำนาญมากขึ้นแล้ว อาจจะค่อยๆ ขยับไปเล่นคู่ที่แรงกว่านี้ก็ได้ครับ เช่น GBP/JPY (วิ่งแรงถึงใจหลายๆ ท่าน)หรือ GBP/USD

ข้อสอง ควรเทรด Forex เวลาไหนดี?
ถ้า เลือกเล่น EUR/USD ตามที่ผมบอกข้างบน ก็ควรเทรดที่ช่วงเวลา 14.00 - 22.00 จะดีที่สุดครับ และช่วงวิ่งแรงของคู่นี้ก็คือ 19.00 - 21.00 เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงคาบเกี่ยวกันของการเปิดทำการของตลาด EUR กับ ตลาด USD ช่วงคาบเกี่ยวกันนี้กราฟจะวิ่งเยอะ เหมาะกับการเทรด

เพิ่มเติมสำหรับช่วงเวลาทำการของตลาด

ตลาด Forex นั้นมีหลายแห่งในโลก มีเวลาการเปิดปิดที่คาบเกี่ยวกัน ทำให้เราสามารถลงทุนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ โดยตลาดต่างๆ มีเวลาเปิดปิดดังนี้

ตามเวลาประเทศไทย ตลาดจะเปิดทำการตั้งแต่เวลาตี 4 ของเช้าวันจันทร์ และปิดตี 4 ของเช้าวันเสาร์ (รวม 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

ตลาด USD = US Dollar เปิดเวลา 19.00 น. ถึงตี 3

ตลาด GBP = British Pound เปิดเวลา 14.00 - 22.00 น.

ตลาด EUR = Euro เปิดเวลา 13.00 - 21.00 น.

ตลาด CHF = Swiss Franc เปิดเวลา 13.00 - 21.00 น.

ตลาด JPY = Japanese Yen เปิดเวลา 7.00 - 14.00 น.

ตลาด AUD = Australian Dollar เปิดเวลา 5.00 - 13.00 น.

ขอ แนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าเพิ่งเริ่มเล่น forex ใหม่ๆ ควรจะเล่นคู่นั้นๆ ใ้ห้ชำนาญ และไม่ควรเล่นหลายคู่เกินไป เพราะจะอาจจะทำให้พะวักพะวงได้ครับ ชำนาญแล้วค่อยขยับไปศึกษาคู่อืนเพิ่มเติม

มาถึงตรงนี้ หลายๆ ท่านคงจะเลือกคู่ที่จะเล่นได้แล้วนะครับ

"กฎ 10 ข้อเพื่อการเทรด Forex ให้ได้กำไร" เป็น 10 ข้อที่ดีมากสำหรับ Technical Analysis ครับ

คือ ถ้าเราสามารถทำตามนี้ได้นั้น ผมเชื่อว่าอย่างน้อยๆ เราแทบจะไม่ขาดทุน หรืออาจจะกำไรด้วยซ้ำไปครับ ขอแค่อย่าพยายาม "เดา" เอาเองว่ามันน่าจะขึ้น หรือมันน่าจะลงครับ ให้เราดูจากสัญญาน Indicators และก็อีกหลายๆ อย่างใน 10 ข้อนี้เป็นตัวชี้นำ หรือแนวทางครับ (เพราะหลายๆ ครั้งที่ ติดลบตัวแดง หรือขาดทุน ส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าน่าจะมาจากการตัดสินใจในการ "เดา" เอาเองของเรามากกว่า โดยไม่รอสัญญานจาก Indicators และอีกหลายๆ อย่างประกอบครับ)

กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ
หากท่านสามารถเข้าใจและ ปฎิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้ผมเชื่อว่าท่าน ก็สามารถเอาตัวรอด ด้วยการลงทุนโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้ครับ

มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

1. ตามแนวโน้ม
ศึกษา กราฟระยะ ยาว เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์กราฟรายเดือน และรายสัปดาห์ ด้วยการดูย้อนหลังหลายปี โดยการทำแบบนี้ จะทำให้มีมุมมอง ระยะยาว ต่อตลาดได้ดีขึ้น ขณะที่ศึกษากราฟระยะยาวจบแล้ว ควรศึกษากราฟรายวัน และกราฟเทรดภายในวัน การดูกราฟระยะสั้นเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดได้ แม้ว่าคุณจะทำการซื้อขาย ในระยะที่สั้นมากๆ ก็ตาม คุณจะซื้อขายได้กำไรมากขึ้น ถ้าคุณซื้อขายในทิศทางเดียวกับแนวโน้มระยะกลาง และระยะยาว...

2. พุ่งเป้าไปที่แนวโน้ม และไปกับมัน
ตัดสิน แนวโน้ม และซื้อขายตามแนวโน้มตลาด แนวโน้มตลาดแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เริ่มแรก ควรที่จะใช้กราฟก่อนที่จะเทรด คุณต้องแน่ใจก่อนว่า คุณทำตามทิศทางเดียวกับในแนวโน้มตลาด ซื้อเมื่อแนวโน้มขึ้น ขายเมื่อแนวโน้มลง ถ้าคุณเทรดในระยะกลาง ควรใช้กราฟวัน และรายสัปดาห์ ถ้าคุณเดย์เทรด ควรใช้กราฟวัน และกราฟการซื้อขายภายในวัน แต่ในแต่ละกรณี ควรใช้กราฟระยะยาว ตัดสินแนวโน้ม และใช้กราฟระยะสั้น ตัดสินช่วงจังหวะเวลาซื้อขาย...

3. หาจุดต่ำสุด และสูงสุดของมัน
หา ระดับแนวต้าน (Resistance) และแนวรับ (Support) ตำแหน่งที่ดีสำหรับการซื้อคือ ซื้อใกล้กับแนวรับ โดยที่แนวรับนั้น ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดของเดิม ตำแหน่งที่ดีสำหรับการขายคือ ใกล้เคียงกับแนวต้าน (ตีความได้ว่า น่าจะไม่ใช่ที่แนวต้านพอดี) แนวต้านปรกติแล้ว คือจุดสูงสุดเดิม หลังจากผ่านแนวต้านไปได้จะทำให้เกิดแนวรับใหม่ตรงจุดที่ผ่านไป หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ราคาตรงแนวต้านที่ผ่านไป จะเป็นราคาต่ำสุดใหม่ (แนวรับในอนาคต) ในอีกขณะ ที่เมื่อแนวรับถูกทำลาย ราคาตรงตรงนั้นจะกลายเป็น จุดสูงสุดใหม่ (แนวต้านในอนาคต)...

4. เราจะมองย้อนหลังกลับไปอย่างไร
เราจะใช้การวัดเปอร์เซนต์ Retracement การที่ตลาดขึ้นหรือลง โดยปรกติจะเป็นสัดส่วนจาก แนวโน้มเดิม

ดู ที่รูปนะครับ จะเป็น USD/JPY ที่กราฟ M15 แนวโน้มเดิมคือขึ้น ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแนวโน้ม กลับตัวเป็นลง เราสามารถคาดการณ์ แนวต้าน 23.6% 38.2% 50% 61.8% 100% ในกรณีนี้ Rebound ที่ระดับ 23.6%


(คำ แนะนำทางทฤษฎี : คุณสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้จากแนวโน้มที่เป็นอยู่ ในรูปแบบของ % ง่ายๆ 50% Retracement ในแนวโน้มหลัก ถือเป็นระดับปรกติ ระดับน้อยที่สุด คือ 1 ใน 3 ของแนวโน้มหลัก ระดับมากที่สุดคือ 2 ใน 3 ของแนวโน้มหลัก Retracement แบบ Fibonacci ระดับ 38.2% และ 61.8% ก็น่าสนใจ ในขณะที่เปลี่ยนเป็นแนวโน้มขึ้น จุดซื้อควรเป็นระดับที่ 33-38%)...

5. ลากเส้น
วาด เส้นแนวโน้ม (Trendline) เส้นแนวโน้มเป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในเครื่องมือแบบกราฟ สิ่งที่คุณต้องการคือ เส้นตรง 1 เส้น และจุดสองจุดบนกราฟ เส้นแนวโน้มขึ้นลากจาก จุดต่ำสุด 2 จุด เส้นแนวโน้มลง ลากจากจุดสูงสุด 2 จุด ราคามักจะถูกดึงกลับไปที่เส้นแนวโน้ม ก่อนที่จะไปตามแนวโน้มต่อไป โดยการขึ้นลงผ่านเส้นแนวโน้มนั้น ปรกติจะถือว่าเป็นการเปลี่นแนวโน้ม เส้นแนวโน้มที่ใช้ได้ มักจะถูกทดสอบอย่างน้อย 3 ครั้ง เส้นแนวโน้มระยะยาว จะมีประสิทธิภาพมาก และยิ่งจำนวนครั้งที่ถูกทดสอบมีมากเท่าไหร่ ความสำคัญก็จะยิ่งมีมากขึ้น...

6. ตามค่าเฉลี่ย
ค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) จะให้สัญญาณเป้าหมาย ซื้อและขาย ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะบอกคุณว่า แนวโน้มยังอยู่ในแนวโน้มเดิม และช่วยในการทำให้แน่ใจถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม แม้ว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะไม่สามารถบอกคุณถึงอนาคตล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแนวโน้มตามค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่า สนใจ การผสมผสานของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 ค่า เป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมาก สำหรับใช้หาสัญญาณซื้อ และสัญญาณขาย การผสมผสานสัญญาณซื้อ-ขาย ที่เป็นที่นิยมกันคือ 4 กับ 9 วัน , 9 กับ 18 วัน , 5 และ 20 วัน จะให้สัญญาณเมื่อ เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า ตัวอย่างเช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 วัน (ระยะสั้น) ตัดเส้นค่าเฉลี่ย 9 วัน (ระยะยาวกว่า) ขึ้น หมายถึงสัญญาณซื้อ เมื่อราคาตัดสูงขึ้น (สัญญาณซื้อ) หรือต่ำกว่า (สัญญาณขาย) ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 40 วัน ถือว่าเป็นสัญญาณซื้อขายที่ดี โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะเป็นตัวชี้การเป็นไปตามแนวโน้ม ซึ่งวิธีการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เหล่านี้จะดีที่สุดใน ตลาดที่มีแนวโน้มอย่างชัดเจน...

7. เรียนรู้การเปลี่ยนแนวโน้ม
ตรวจ ดูเครื่องมือ Oscillators ต่างๆ เครื่องมือ Oscillators นั้น ช่วยในการหาตลาดที่เกิดภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) และตลาดที่เกิดภาวะขายมากเกินไป (Oversold) ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ให้ความแน่ใจในการเปลี่ยนแนวโน้มตลาด เครื่องมือ Oscillators จะเป็นตัวบอกว่าตลาดจะขึ้นหรือลงมากขึ้น หรือจะกลับตัวในไม่ช้า ที่เป็นที่นิยมมากคือ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองค่านี้เป็นที่นิยมใช้ในสเกล 0 ถึง 100 ค่า RSI ที่มีค่ามากกว่า 70 ถือว่าเป็นภาวะที่ซื้อมากเกินไป (Overbought) ขณะที่ถ้าอ่านค่าได้ต่ำกว่า 30 ถือเป็นภาวะที่ขายมากเกินไป (Oversold) การซื้อหรือขายมากเกินไป สำหรับ Stochastic คือ 80 และ 20 คนส่วนใหญ่นิยมใช้ค่า 14 วัน หรือสัปดาห์ สำหรับ Stochastic และ 9 หรือ 14 วัน หรือสัปดาห์ สำหรับ RSI เมื่อตัว Oscillator เกิด Divergence บ่อยครั้ง จะแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ ใช้ได้ดีสุดในตลาดที่ไม่มีแนวโน้ม (Sideway) สัญญาณรายสัปดาห์จะใช้กรองสัญญาณรายวัน สัญญาณรายวันสามารถใช้ในการกรองสัญญาณภายในระหว่างวัน...

8. เรียนรู้ สัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นการรวมระบบการตัดกันของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ด้วยการวัดระดับภาวะซื้อเกินไป (Overbought) และขายเกินไป (Oversold) สัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อ สัญญาณที่เร็วกว่าตัดสัญญาณที่ช้ากว่า และเส้นทั้งสองเส้นต่ำกว่า 0 สัญญาณขายคือ สัญญาณที่ช้ากว่าตัดสัญญาณที่เร็วกว่า และค่าทั้งสองค่า มากกว่า 0 สัญญาณรายสัปดาห์ถือว่ามีความสำคัญเหนือกว่า รายวัน MACD Histogram วาดความแตกต่างระหว่าง 2 เส้น และให้การเตือนก่อนถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม มันถูกเรียกว่า Histogram เนื่องจากระดับความสูงของแท่ง แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง 2 เส้นบนกราฟ...

9. มีแนวโน้ม หรือไม่มีแนวโน้ม
ใช้ Average Directional Movement Index (ADX) ใช้เส้น ADX ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าตลาดในขณะนั้นมีแนวโน้ม หรือไม่มีแนวโน้ม มันวัดถึงระดับการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม และทิศทางของตลาด การเพิ่มขึ้นของเส้น ADX ชี้ให้เห็นถึงการมีแนวโน้มที่มากขึ้น การลดลงของ ADX ชี้ให้เห็นถึงการที่ตลาดไม่มีแนวโน้ม การเพิ่มของ ADX แสดงให้เห็นว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นตัวชี้วัด การลดลงของ ADX แสดงให้เห็นว่า ควรใช้ค่า Oscillators ด้วยการลากทิศทางของเส้น ADX ผู้ซื้อขายสามารถตัดสินใจระหว่าง สไตล์ในการซื้อขาย และอะไรเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับภาวะในตลาดในขณะนั้น...

10. เรียนรู้ถึงการสนับสนุนสัญญาณการซื้อขาย
ปริมาณ การซื้อขาย (Volume) สิ่งที่สนับสนุนสัญญาณการซื้อขายนั้น ประกอบด้วยปริมาณการซื้อขายรวม และปริมาณการซื้อขายขณะเปิดทำการ เป็นสิ่งที่สนับสนุนสัญญาณการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายรวมมีความสำคัญมาก่อนราคา ปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นจะทำให้เชื่อได้ว่าชักจูงสู่แนวโน้ม ในขณะที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อขายรวมควรมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายขณะเปิด เป็นสิ่งที่สนับสนุนว่า เงินใหม่ได้เข้ามาสู่ หรือชักจูงเข้ามาสู่แนวโน้ม การที่ปริมาณซื้อขายขณะเปิดลดลงบ่อยครั้ง จะเป็นการเตือนว่าแนวโนมโน้มใกล้จบลง ราคาที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีทั้งปริมาณการซื้อขายรวมที่มากขึ้น และปริมาณการซื้อขายขณะเปิดทำการ...


*** การศึกษาทางเทคนิค เป็นทักษะที่ทำให้ดีขึ้นได้ ด้วยประสบการณ์ และการศึกษา ดังนั้นควรศึกษา และเรียนรู้ตลอดเวลา ***


ขอบคุณข้อมูลจากท่านอาจารย์ เอก ครับ

ข้อคิดดีๆ สำหรับนักลงทุน

เป็นข้อคิดที่ดีมากๆ ลองอ่านดูครับ
อ่านและทำตามกฏพื้นฐานนี้ให้้ได้เสียก่อนเริ่มต้นเทรด


เริ่มจากภาษาที่ใช้เป็นทางการที่เรียกใน กราฟ  อย่างเป็นทางการ

Market ตลาด       (ควรเรียนรู้ธรรมชาติตลาด ตลาดมีนิสัย มีความรู้สึกและมีอารมณ์ เสมอๆ)
Position sizing  จำนวนการ ซื้อ-ขาย
Entries จุดเข้าซื้อ    (รอจังหวะและหาจุดเข้าที่ดีโอกาสกำไรสูง)
Stop  จุดยอมขาดทุน   (ตัดขาดทุนให้เร็ว)
Exit การขายทำกำไร   (มองหาเป้าหมายและความน่าจะเป็นของเป้าหมาย)
Tactics กลยุทธ์     (วางแผนดี มีวิธีเล่นอย่างเป็นระบบที่แน่นอน)

หลักที่สำคัญที่สุด จุดตัดขาดทุน  Cut loss เมื่อรู้ว่าแนวโน้มวิ่งผิดทาง
Cut loss เมื่อไม่เป็นไปตามระบบที่เราวางแผน
หลักการมองกราฟทางเทคนิคมองแบบ มีขึ้นและก็มีลง  ขึ้นแล้วลง  ลงแล้วก็ขึ้น 
คิดและวางแผนก่อนเริ่มการ ซื้อ-ขาย 
ซื้ออะไร ซื้อเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่ ซื้อตอนไหน 
จุดหนี อยู่ตรงไหน(ยอมตัดขาดทุน) 
และจะขายทำกำไรเมื่อไหร่ 

ข้อคิดเตือนใจนักลงทุน
"ความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจาก อารมณ์ ของเราทั้งนั่น"
"เมื่อมองตลาดยังไม่ชัดเจน ก็ควรลดน้ำหนักการลงทุนลง"
"เตรียมพร้อม วางแผนให้ดี รอบคอบ ระมัดะวัง อย่าคาดหวังมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยง''

1. เลือกความเรียบง่ายมากกว่าความซับซ้อน
2. ฝึกความอดทน  (รอจังหวะที่ดี อย่ารีบ)
3. มีสติและควบคุมอารมณ์ได้
4. คิดอย่างอิสระ
5. ไม่สนใจ ไม่วอกแวกจากภาพรวมภายนอก
6. ไม่ลงทุนด้วยสัญชาตญาณ (คิดเอง เดาเองหรือเสี่ยงเล่นดู )
7. ฝึกการอยู่นิ่งๆ ไม่ซื้อขายมากเกินไป
8. เป็นนักฉวยโอกาสเมื่อตลาดมีสภาวะสดใส ชัดเจน
9. อย่าตีบอลทุกลูกที่ขว้างมา (อย่าเข้าๆออกๆบ่อยเกินไป)
10. จงอยู่ในขอบเขตความรู้ของคุณ (มีความรู้แบบไหนก็ใช้วิธีเล่นแบบที่คุณรู้ )
11. จงตื่นกลัวเมื่อคนอื่นกำลังโลภและจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังตื่นกลัว
12. อ่านและอ่านให้มากแล้วคิดให้ดี
13. อย่าทำพลาดแล้วเรียนรู้จากความผิดความของผู้อื่น
14. ก้าวสู้การเป็นนักลงทุนผู้รอบรู้และ ฝึกที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

กฏข้อใหญ่ๆมักจะพูดเสมอให้คิดเสมอๆ
การเข้าครั้งนี้จะไม่ขาดทุน (เพื่อเตือนสติให้ตัวเอง)
              รักษาเงินต้นไว้ให้ดี
              ควรทำอย่างไรจึงได้กำไร (หลักอะไรบ้าง วิธีใดบ้าง เวลา จังหวะ ความเหมาะสม)
              และควรเทรดอย่างไรให้เทรดได้ผลกำไรต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
1.  อย่าพยายามเทรดในช่วงที่เราไม่รู้ 
     (ช่วงที่อ่านกราฟไม่ออก มองไม่ชัดเจน กราฟไม่สวย ไม่แน่ใจ...)
2.  อย่ารีบจนเกินไปและยื้อการขาดทุน 
     ( อย่าปล่อยให้ความโลภยืนเหนือเหตุผล และขาดทุนเพราะคิดว่าเดี๋ยวก็กลับมา)
3.  อย่าต่อต้าน แนวโน้มหลัก 
     ( กราฟมักจะมีแนวโน้มเสมอๆ ระยะสั้นๆอาจจะsideway แต่ระยะเวลามากขึ้นยังคงเป็นขาขึ้นอยู่..)  
4.  จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง 
     ( ทำอย่างไรเพื่อให้ขาดทุนน้อยลง ทำอย่างไรที่จะหาวิธีในการลงทุนที่สามารถทำกำไรได้ เรียนรู้ความผิดพลาด ตลาดสอนอะไรเรา ตัวไหนที่มักจะทำกำไรให้เราเสมอๆ หาเหตุและผล เพราะอะไร)            
5.  ทำการบ้านก่อนเทรดเสมอๆ จดและบันทึกลงสมุด 
     ( มองกราฟ วิเคราะห์กราฟจาก 1d --->4h--->1h--->30h--->15m ความสัมพันธ์เป็นยังไง เริ่มลงทุนควรเริ่มที่เท่าไหรก่อน ตามความเหมาะสมของ ลักษณะกราฟว่ามั่นใจแค่ไหน หลายๆ คนมักจะมองข้ามการจดบันทึก จดตัวที่เราสนใจจุดไหนน่าสนใจ ถ้าเข้าแล้วจุดไหนควรออกยอมตัดขาดทุน แนวรับแถวไหน แนวต้านแถวไหน มาถึงตรงนี้ถึงเข้าเลื่อนลงไปตัดขาดทุนทันที หลายๆคนมักมองข้ามแบบแผนนี้เสมอๆส่วนใหญ่มักเปิดกราฟแล้วเทรดเลย เป็น วิธีคิดที่หยาบเกินไป ยังไม่ละเอียดพอ)
6. มีสมาธิในช่วงนั่นๆ (เงินทำเงินควรตั้งใจและมีสมาธิ)

ลงทุนโดยใช้ Technical Analysis

ลงทุนด้วยความเรียบง่าย ชัดเจน อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน องกราฟแบบง่ายๆ มองกราฟให้ออกก่อน แบบที่เราเข้าใจ มีแนวโน้ม ไม่ซับซ้อนเกินไป มองแนวรับ แนวต้านที่ชัดเจน(แข็งแกร่ง)

"เมื่อมองกราฟ แล้วคุณเข้าใจ"

อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน
บัฟเฟตต์ ให้แนวคิดค้นแนวทางสู่ความสำเร็จโดยลงทุนหุ้นที่ไม่ซับซ้อน โดยที่ตัวเขาเองไม่สามารถ
เข้าใจได้ หลักการที่ บัฟเฟตต์เรียนรู้จาก เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของเขา คือ “คุณไม่จำเป็นต้องทำเรื่องยากๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยียม”  “ทำให้ง่ายๆคือเป้าหมายของคุณ” นี่คือแก่นแท้ของปรัชญาการลงทุนแบบ บัฟเฟตต์ หลักการง่ายๆนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

"ถ้าคุณไม่เข้าใจ มองกราฟไม่ออก
อย่าเข้าซื้อ-ขายเด็ดขาด"

วางแผน จดบันทึก และลากวาดเส้นลงบนกราฟ นำหลักการของ John Murphy มาต่อยอด

1. มองหาแนวโน้ม
ใน กราฟมีแค่ 3 แบบ ขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง ใช้กราฟวิเคราะห์ราคาจากระยะยาวเมื่อมองภาพใหญ่จะเห็นว่าตลาดเป็นรูปแบบไหน ทำอะไรอยู่และจะมองภาพรวมตลาดได้ง่ายขึ้น

เมื่อมองภาพระยะยาว(กราฟวัน สัปดาห์ เดือน)แล้วจึงค่อยมามองภาพระยะสั้น(ระหว่างวัน) การไปดูกราฟระยะสั้นๆก่อนมักจะทำให้มองผิดพลาดได้ง่ายกว่า(เกิดการหลอก ของกราฟ)เพราแนวโน้มกราฟมักจะเดินทางตามกราฟระยะยาวเสมอๆ ดังนั่นถ้าคุณเป็นนักเทรดระยะสั้น วันต่อวัน นักเก็งกำไร คุณควร ซื้อ-ขาย ตามแนวโน้มระยะกลาง และระยะยาว

2. เดินทางไปกับแนวโน้มนั่นๆที่เกิดขึ้น  
พิจารณาแนวโน้มที่เกิดขึ้นว่าเป็นแบบไหนเมื่อรู้แล้วจึงเดินตามแนวโน้มทางนั้น แนว โน้มของตลาดจะมีทั้ง  ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน สั้น กลาง ยาว แล้วจึงเลือกกราฟให้เหมาะสม เมื่อถึงเวลาเทรดให้เทรดไปตามทิศทางแนวโน้มตามระยะเวลาที่คุณเลือก

''สำคัญ'' ซื้อเมื่อตอนที่ราคาลดต่ำลงมา(ลงมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวรับ)ในแนวโน้มของเทรนขาขึ้
            ขายเมื่อตอนที่ราคาดีดตัวขึ้นไป(ขึ้นมาปรับฐาน พักตัว ทำแนวต้าน)ในแนวโน้มของเทรนขาลง

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนระยะกลางให้ใช้กราฟรายวัน รายสัปดาห์

ถ้าคุณเป็นนักลงทุน ซื้อ- ขายภายในวันเดียว ใช้กราฟวันและระหว่างวัน
อย่างไรก็ตามจะเลือกเทรดแบบไหน เราต้องดูกราฟที่ระยะยาวกว่าเพื่อดูแนวโน้มก่อน แล้วจึงใช้กราฟระยะเวลาที่เราต้องการเทรดสำหรับการซื้อ-ขาย

3. หาจุดต่ำสุดของราคาและจุดสูงสุดของราคา
รู้จุดต่ำสุด คือ แนวรับ จุดสูงสุด คือ แนวต้าน หาให้เจอ(แล้วขีดไว้กันลืม)
หาแนวรับและแนวต้าน
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ซื้อที่แนวรับ(ใกล้ๆแนวรับ) ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ขายที่แนวต้าน(ใกล้ๆแนวต้าน) ในช่วงแนวโน้มขาลง

เมื่อ ราคาทำยอดสูงใหม่กว่าจากนั้นจะกลับมาเป็น(แนวรับ) เมื่อราคาวกกลับลงมาหรือเรียกว่า สูงเก่ากลายเป็นจุดต่ำใหม่ (ของแนวโน้มขาขึ้น)
เมื่อราคาทะลุจุดต่ำสุดจากนั้นจะดีดกลับมาเป็น(แนวต้าน) เมื่อราคาดีดตัวขึ้นไป เรียกว่า ต่ำเก่ากลายเป็นจุดสูงใหม่ (ของแนวโน้มขาลง)
ดูตัวอย่างรูป ขาขึ้น และ ขาลง

4. การปรับฐาน ราคาจะปรับฐานลึกแค่ไหน
การขึ้นก็ขึ้นเป็นรอบ ในรอบการขึ้นก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ
การลงก็จะลงเป็นรอบ ในรอบการลงก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อลงต่อ
รอบการขึ้น รอบการลงมีการปรับฐานเหมือน คลื่น  
เราสามารถวัดการปรับตัวที่เกิดขึ้นได้ในสัดส่วนง่ายๆ
การปรับตัวที่ระดับ 50% ของแนวโน้มก่อนหน้าเป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อยที่สุด
สัดส่วนที่น้อยที่สุดมักจะเป็นหนึ่งในสามของแนวโน้มก่อนหน้า(33.38%) ของการปรับตัวและมากที่สุดสองในสาม(66.66%)

สำหรับการปรับตัวตามตัวเลข Fibonacci คือ 38% และ 62%เป็นตัวเลขที่สำคัญของการปรับฐานหรือปรับตัวของราคา
เมื่อ เกิดแนวโน้มขาขึ้นหากจะซื้อควรรอการปรับฐานโดยดูตามระดับตัวเลข Fibonacci ที่สำคัญๆเพราะมักจะเป็น แนวรับที่สำคัญ เพื่อลงมาสะสมแรงแล้วไปต่อ  
ดูตัวอย่างรูป เตรียมลาก และ fibo@ จังหวะแรก fibo@2จังหวะที่สองของแนวโน้ม fibo@3จังหวะที่สามของแนวโน้ม

5. ลากเส้น(แนวโน้ม)
ลากเส้นแนวโน้ม เส้นแนวโน้มเป็นการมองและลากง่ายๆแต่ได้ผล สิ่งที่ต้องทำก็แค่ลากเส้นแนวโน้ม
ขาขึ้นของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วขึ้นต่อ
ขาลงของการลากก็จะมีการพักตัวในเส้นที่ลากแล้วลงต่อ
จนกว่าจะมีการทะลุเส้นแนวโน้มนั่นๆได้มักจะเกิดสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนั่นๆ
เส้น ที่ดีควรมีการแตะของราคาอย่างน้อยถึงสามครั้ง(ไม่ทะลุหลุดเส้น)  เส้นยิ่งยาวยิ่งดีบอกแนวโน้มนั่นแข็งแรง(ลากแล้วหลุดเร็วแสดงเส้นสั้น)
และยิ่งถูกทดสอบโดยการแตะที่เส้นมากเท่าไหร่(เหมือนสะสมแรง)ยิ่งเป็นนัยสำคัญที่ต้องพิจารณา
ดูตัวอย่างได้ที่ http://thailandinvestorclub.com/index.php?topic=5894.0 ปูพื้นฐานไว้ให้แบบชัดเจน และไปต่อยอดด้วย http://thailandinvestorclub.com/index.php?topic=7181.0 ฝึกลากบ่อยๆแล้วจะสามารถไปประยุกต์เองเป็นครับ

6. ใช้เส้นค่าเฉลี่ย
เส้นค่าเฉลี่ยจะให้สัญญาณในการซื้อ – ขาย บอกถึงแนวโน้มขณะนั้นยังเกิดขึ้นอยู่หรือว่าเปลื่อนแล้ว
เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกแนวโน้มอนาคตว่าราคาจะไปทางไหนแต่ก็สามารถบอกถึงการเปลื่อนแนวโน้มได้ดีมากๆ
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเป็นที่นิยมในการหาสัญญาณซื้อ-ขาย   ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เส้น 4และ9วัน  9และ18วัน หรือ 5และ20วันเป็นต้น
สัญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อตัดกันขึ้นซื้อ ตัดกันลงมาขาย
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย40วันเพื่อหาจุดซื้อ-ขายก็เป็นสัญญาณที่ดีอีกตัวหนึ่ง
และเนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวหาแนวโน้ม ดังนั้นจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อตลาดมีแนวโน้มชัดเจน
ตัวอย่างรูป เส้นค่าเฉลี่ย 40 วัน (sma40)

สามารถ ลากจากไหนก็ได้ชอบแบบที่ราคาเปิดปิด หรือ ชอบลากแบบใส้เทียน ใช้แบบไหนก็ได้ครับฝึกดูไปเรื่อยๆครับ แต่เมื่อหลุดแล้วไม่เป็นไปตามทิศทางที่เรามองมีทางเดียวเลยครับ ยอมตัดขาดทุนแล้วเริ่มครั้งใหม่ ไม่มีระบบไหนถูกทุกครั้งครับ ทุกระบบถูกเลือกมาให้ถูกมากกว่าผิด แต่ระบบทุกระบบก็ต้องการทำตามอย่างมีวินัยสูงด้วยเช่นกัน การมีวินัยจะช่วยให้การเสียหายขาดทุนน้อย แต่ถูกทางจะกำไรมากเสมอๆครับไม่เชื่อลองมีวินัยดูครับ....

ข้อ สอง ระยะสั้น มีตัวpivot ที่ใช้ดูระยะ 15m ใช้ได้ดีในการเล่นหนึ่งวัน ส่วนระยะกลาง ระยะยาว ต้องลากมือเพื่อหาเป้าหมายหรือจะดูจาก แนวรับ แนวต้าน อดีตว่าเคยขึ้น ลงไปที่จุดไหนและอนาคตมักจะวิ่งที่พักตัวที่ระดับจุดที่อดีตเคยขึ้นมาถึง ลงมาถึงเช่นกันครับ

ข้อ สาม ส่วนใหญ่น่ะครับ พอมีแนวโน้มขึ้นหมดรอบขึ้นแล้วมักจะเกิดคลอเคลีย(sideway)หรือพักตัวก่อน เสมอแล้วมีแนวโน้มครั้งต่อไป  เปรียบ เสมือนการวิ่งครับเมื่อเราวิ่งมานานเราเหนื่อยเราก็ต้องพักก่อน เมื่อพักเราก็หายเหนื่อย(สะสมแีรงนั่นเอง) พอหายเหนื่อยเราจึงวิ่งต่อ สรุปแล้วเกิดแนวโน้มครบหนึ่งรอบแล้วพักเพื่อสะสมแรงแล้วจึงวิ่งครั้งต่อไป ครับ ราคาการขึ้นลงของกราฟก็มีอารมณ์และความรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตเช่น เดียวกันครับ เป็นไปตามธรรมชาติทั้งนั่นครับ ขยันมอง ขยันสังเกตุและขยันมีวินัยครับ เดี๋ยวก็เก่งครับ  

ฝึกให้ทานจนเป็นนิสัย ความโลภจากกำไรและควมโลภของการไม่กล้า stop loss จะหายไปเอง

ว่ากันด้วยออกแบบ "ระบบ''

ก่อน จะเริ่มวางระบบ อยู่ๆจะวางระบบเลยไม่ได้ พื้นฐานต้องมี มีความเข้าใจแล้วพอสมควร มองและแยกให้ออกว่า ระบบที่ดีนั่นต้องมีปัจจัยอะไรมาร่วมด้วย ที่จะทำให้ได้กำไร มากกว่าขาดทุน  

โดยจะเลือกมา 2 ระบบเพื่อใช้งาน  
โดยก่อนเริ่มระบบ เราจะสร้างเงือนไขให้กับระบบ กระบวนการคิดโดยการสร้างเงือนไข
เงือนไขโดย โดยมองแนวโน้ม และรอจังหวะ HH HL ผสมกับการเกิด break out  
ระบบแรก 1 2 3 4  ผสมกับการ HH HL  
ระบบที่สอง เส้น MA ตัดกัน ผสมกับ HH Hl และ break out
เมื่อเลือกมา 2 ระบบ โดยกำหนดที่จะเล่นที่ระดับ 5 m โดยวิเคราะห์ภาพ 1h 4h เป็นหลักแล้วมาเล่นสั้นโดยตามระบบ เงือน ไขโดย เล่นจบภายใน หนึ่งชั่วโมง ถึงระดับ สามชั่วโมง (โดยสามารถออกก่อน เมื่อบวกไปแล้วที่ระดับ 10-20 จุด )และปิด ก่อนครึ่งของทุนเพื่อลดความเสี่ยงเมื่อมาถึงระดับ แนวรับ แนวต้านก่อนจะถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้  

กำหนดช่วงที่จะเข้า ซื้อ ขาย โดยจบในวันนั่น โดยที่เริ่มตามระบบเมื่อเวลา 12.00-16.00 ภาคบ่ายรอบแรกของการตามระบบ
                                                             รอบต่อไป ช่วงเวลา 19.00-23.00 4 ภาคค่ำ 
เงือน ไขของรอบเวลา โซนยุโรปและอเมกา เพื่อต้องการแรงหนุนของการซื้อ ขายให้มีวอลลุ่มแล้วตามระบบในช่วงโซนเวลานั่นๆ(ในช่วงมีแรง ซื้อ ขายตามโซนตลาด)
โดยทำตามวินัยทุกครั้งของระบบ  

กรณีศึกษาเพื่อไปใช้กับระบบของตัวเอง

โดยระบบแรก 1 2 3 4  
โดยมองระยะ 1h ยังสามารถอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้
มาตามระบบในระยะสั้น 5m 
ระบบที่ 2 โดย ใช้หลัก MA เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน

โดยในระบบ จะใช้เส้น ระหว่าง 50 กับ 8  SMA แบบง่ายๆ
ทำไมต้องใช้สองเส้นนี้ จังหวะเข้าที่ไม่ต่ำเกินไป และจุดออกได้จุดออกที่ดี คือมองภาพระบบแล้ว เป็นระบบที่ กำไร มากกว่า ขาดทุน

เมื่อ เราเห็นแล้วว่า เมื่อวางแผนได้ ระบบ แล้ว เราจะเข้าใจในการเทรด รู้ที่ไป ที่มาว่าทำไมต้องเข้า ออก และเป็นวินัยการลงทุนที่แท้จริง ไม่ใช้ลงทุนแบบการพนัน



วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ของขวัญปีใหม่ ล้ำค่าถ้าได้ทำ

สวัสดีครับ เพื่อนในวงการเทรด วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านบทความดีๆ  จากเวบ www.iwebforex.com  จึงขอ อนุญาติท่านเจ้าของเวบ นำบทความมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้ เพื่อนๆ นักลงทุนได้อ่านกัน ต้องขอขอบคุณ เจ้าของบทความไว้นะ โอกาสนี้ด้วยครับ

เวบข่าว FOREX ที่ทาง SUPPORT แนะนำให้อ่าน
 
www.ForexFactory.com


www.FXStreet.com


www.ForexTV.com


www.ForexNews.com



Money management 

ทำไม Money management ถึงสำคัญ เพราะเราต้องการที่จะทำกำไร เราต้องเรียนรู้การบริหารจัดการเงิน แต่คนส่วนมากได้มองข้ามมันไป

Trader หลายคน เทรดโดยที่ไม่มีหลักการ และดูแค่ว่าสามารถเสียได้เท่าไรในการเทรด 1 ครั้ง แล้วก็เทรดเลย อย่างนี้ค้าเรียกว่าการพนันไม่ใช่ การลงทุน

ถ้าคุณเทรดโดย ไม่ใช้ Money management นั้น มันก็เหมือนกับว่าคุณกำลังเล่นพนันอยู่ คุณไม่ได้มองการลงทุนระยะยาว คุณกำลัง รอ jackpot การบริหารเงินไม่เพียงช่วยเราป้องกันเงินทุน ยังสามารถทำมีกำไรในระยะยาวอีก แต่ถ้าคุณยังคิดว่าการเล่นแบบรอ jackpot เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เรามาดูตัวอย่างกัน

Casino หรือ เจ้ามือ คนเหล่านี้ เก่งเรื่อง สถิติ เค้ารู้ว่าระยะยาวแล้ว เจ้ามือจะเป็นคนได้เงิน ไม่ใช่นักพนัน ถึงจะมีคนถูกรางวัล Jackpot เป็นเงินก้อนโต แต่ก็จะมีนักพนันอีกมากกว่าร้อยที่ไม่ถูก Jackpot แล้วเงินเหล่านี้ ก็จะเป็นของเจ้ามือ

อันนี้เป้นตัวอย่างที่ทำให้เห็นวา สถิติ สามารถ สร้างกำไรได้เหนือกว่า การพนัน
ในทางสถิติ หรือ เจ้ามือ ในกรณีนี้รู้ว่าจะควบคุมความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ได้อย่างไร ถ้าทำได้ คุณก็จะมีกำไร

ทีนี้คุณจะทำยังไงถึงจะเป็น นักสถิติที่ดีได้ ไม่ล้มเหลว

Money management นั้นสามารถทำกำไร ได้ในระยะยาว
ถ้า ไม่ใช้กฎของ Money management จะเกิดอะไรขึ้นเรามาดูตัวอย่าง

สมมุติ ว่าคุณ มีเงินอยู่ $10,000 และคุณเสียไป $5,000 คุณเสียไปทั้งหมดกี่เปอร์เซนต์ คำตอบคือ 50 เปอร์เซนต์ แล้วคุณต้องทำกี่เปอร์เซนต์
เงิน $5000 ของคุณ ถึงจะกลับไปเท่าเดิมคือ $10000 คุณต้องทำถึง 100 เปอร์เซนต์ ไม่ใช่ 50 เปอร์เซนต์ เค้าเรียกว่า Drawdown จะเห็นว่ามันน่าหงุดหงิดมาก เพราะมันง่ายมากในการเสียไป แต่ได้กลับคืนมาเท่าเดิมนั้น ยากกว่า ซึ่งผู้อ่านคงไม่คิดที่จะเสีย
 เทรดเดียว 50 เปอร์เซนต์ ผมหวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเทรดเสีย 3, 4 หรือ 10 เทรดติดกันล่ะ มันดูเหมือนจะเกิดได้ยากถ้าคุณคิดว่าคุณมี trade system ที่มีเปอร์เซนต์ชนะ 70 เปอร์เซนต์ ดังนั้นคุณไม่มีทางเสีย ติดต่อกันได้ถึง 10 ครั้ง ถ้าคุณคิดว่าคุณมี Trade system ที่ดี ในการเทรด Trade system ที่ทำ profitable ได้ 70 เปอร์เซนต์ ดูเหมือนเป็น system ที่ดีมาก แต่มันไม่ได้หมายความว่า ใน 100 เทรดคุณจะชนะ 70 เทรด
คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่า 70 ใน 100 เทรดจะชนะ คุณไม่มีทางรู้ได้ คุณ อาจจะเสีย 30 เทรดแรก แล้วไปชนะ 70 เทรดที่เหลือ ซึงยังให้ผลที่ 70 เปอร์เซนต์ แต่คุณก็คงเสียหายหนัก

จากตัวอย่างจะทำให้รู้ว่า Money management นั้นสำคัญ ไม่ว่าคุณจะมี Trading System ดีสักเท่าไร แต่ก็ต้องมีที่คุณเสีย เหมือนผู้เล่น Poker มืออาชีพ ถึงเค้าจะเล่นเสียครั้งใหญ่ แต่สุดท้ายเค้าก็จะจบด้วยกำไร

ผู้เล่น Poker เก่งๆจะฝึกฝน Money management เพราะเค้ารุ้ว่าไม่สามารถชนะได้ทุกเกมส์ เค้าจะเล่นด้วยจำนวนเงินที่น้อย จากเงินทั้งหมดที่เค้ามี มันสามารถทำให้เค้ารอดพ้นจากการเสียครั้งใหญ่ได้ นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำในฐานะ trader เทรดใน เปอร์เซนต์ที่น้อยจากจำนวนเงินที่มีทั้งหมด เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อคุณฝึกฝน และ เคร่งครัดกับ Money management คุณ จะเปลี่ยนจากนักพนัน กลายเป็นเจ้ามือ ที่จะทำกำไรได้ระยะยาว

คุณจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันมากระหว่าง การเล่น 2 เปอร์เซนต์เมื่อ เทียบกับ 10 เปอร์เซนต์ ของเงินทั้งหมดในการเทรดแต่ละครั้ง ถ้าคุณเสียติดต่อกัน 19 ครั้ง
การลงด้วยเงิน 10 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสีย 85 เปอร์เซนต์จากเงินทั้งหมด !!!!
แต่การลงด้วยเงิน 2 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสียแค่ 30 เปอร์เซนต์ของมาจิ้นเท่านั้น
แต่มันคง เกิดขึ้นได้ยาก งั้นมาดูแค่การเสีย 5 ครั้งติดต่อกัน ถ้าคุณลง 2 เปอร์เซนต์คุณจะมีเงินเหลือ 18447 แต่ถ้าคุณลง 10 เปอร์เซนต์ จะเหลือเงินแค่ 13122 ซึ่งจะมากกว่าการเสีย ติดต่อกัน 19 ครั้งของ การลง 2 เปอร์เซนต์ซะอีก!!!
จุดประสงค์ที่ยกขึ้นมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การใช้ Money management เมื่อตอน drawdown คุณยังมีเงินทุนเหลือพอที่จะเล่นต่อไป คุณลองคิดว่าถ้าคุณเสีย 85 เปอร์เซนต์ของเงินทั้งหมด คุณต้องทำให้ได้ 566 เปอร์เซนต์ของเงินที่เหลือ เพื่อให้เท่าทุน คุณคงไม่อยากอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น
คุณจะเห็นว่า ยิ่งเสียมากมันก็ยากที่จะ ทำให้มันกลับมาเท่าทุน นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Money management
Risk to reward
เป็น การเทรดที่ อัตราส่วนอยู่ที่ 3 ต่อ 1 คือ Winner trade ต้องมากกว่า 3 เท่าจาก looser trade ถ้าเทรด แพ้ และ ชนะ สลับกัน
Profitable trade จะอยู่แค่ 50 เปอร์เซนต์ แต่เรามีกำไร นะครับ

Credit http://www.babypips.com/school/money_management.html

Credit  http://www.iwebforex.com/2010/07/money-management.html

บทเรียน Forex ชั้นเตรียมอนุบาล

แปลจาก  http://www.babypips.com/forex-school/fundamental-vs-technical.html


เรียน forex ชั้น เตรียมอนุบาล
การซื้อขายสองชนิด
การวิเคราะห์มีอยู่ 2 ชนิด ซึ่งคุณสามารถใช้เมื่อเข้าถึง forex การวิเคราะห์มูลฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค มักจะมีการถกเถียงกันอยู่เสมอว่า การวิเคราะห์แบบไหนดีกว่า, แต่ ตามความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องรู้ทั้งสองบ้างเล็กๆน้อย ดังนั้น มาดูเป็นอย่างเป็นอย่างไป จากนั้นจะได้นำมาใช้ร่วมกันได้


การวิเคราะห์มูลฐาน
การวิเคราะห์ มูลฐาน คือวิธีดูตลาดผ่านปัจจัยอิทธิพลทางเศรษฐกิจ, สังคม และการเมืองที่มีผลกระทบต่อ ปริมาณและความต้องการ อุปสงค์/อุปทาน กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ คุณดูว่าเศรษฐกิจของใครกำลังไปได้ดี, และของใครกำลังแย่ แนวความคิดเบื้องหลังการวิเคราะห์ชนิดนี้ก็คือ เศรษฐกิจของใครก็ตามที่กำลังดี เงินตราของเขาก็ต้องดีด้วยเช่นกัน นี้เพราะว่า ยิ่งเศรษฐกิจของประเทศดี ประเทศอื่นๆยิ่งมีความเชื่อมั้นมากในเงินตรานั้น เป็นต้นว่า, ดอลลาร์แข็งขึ้นเพราะ เศรษฐกิจของอเมริกากำลังแข็งแรง ถ้าอัตราดอกเบี้ยของอเมริกาสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าของเงินดอลล่าก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน และนี้เองคือสิ่งที่เราเรียกว่าการวิเคราะห์มูลฐาน ในหลักสูตร ภายหลัง เราจะได้เรียนว่าเหตุการณ์ข่าวประเภทไหนกัน ที่ผลักดันค่าเงินตราได้มากที่สุด ตอนนี้ให้รู้แค่ว่าการวิเคราะห์มูลฐานของ forex คือ วิธีวิเคราะห์เงินตราผ่านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น


การวิเคราะห์เชิงเทคนิค
การวิเคราะห์เชิงเทคนิค คือ การศึกษาของการเคลื่อนไหวของราคา พูดให้สั้น คือ วิเคราะห์ทางเทคนิค = วิเคราะห์กราฟ (chart) แนวความคิดนี้ ก็คือเราสามารถดูประวัติการเคลื่อนไหวของราคา และอาศัยการขยับตัวของราคา ตัดสินคาดได้ในระดับหนึ่งว่าราคาจะไปที่จุดไหน โดยดูที่กราฟ คุณสามารถระบุแนวโน้ม และรูปแบบ ที่สามารถช่วยให้เห็นโอกาสดีในการชื้อขาย สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณจะได้เรียนรู้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ แนวโน้ม! คนจำนวนมากมีคำพูดอยู่ว่า แนวโน้ม คือ เพื่อนของคุณ . เหตุผลคือ คุณอาจทำเงินได้มากกว่า เมื่อคุณสามารถค้นพบ แนวโน้ม แล้วซื้อขายในทิศทางเดียวกัน การวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถช่วยคุณระบุแนวโน้มเหล่านี้ในขั้นต้นๆ ของมัน และเพราะฉะนั้น(ผมเพิ่งพูดว่าเพราะฉะนั้นใช่ไหม )จึงช่วยให้ คุณได้โอกาสซื้อขายทำกำไรมาก


ดังนั้น การวิเคราะห์แบบไหนดีกว่า
ผม ดีใจที่ คุณถามคำถามนั้น คำตอบ คือ ไม่ใช่แบบใด ทั้งนั้น คุณต้องการการวิเคราะห์ทั้งสองชนิดที่จะเป็นนักค้าที่สมบูรณ์ นี้ คือ ตัวอย่างของการโฟกัสใช้การวิเคราะห์เพียงชนิดเดียวที่นำไปสู่ความหายนะ


สมมุติ ว่าคุณดูที่กราฟของคุณ และ คุณเห็นโอกาสดีที่จะซื้อขาย คุณรู้สึกตื่นเต้นดีใจมาก คิดอยู่ว่าฝนเงินกำลังจะตกลงจากท้องฟ้าแล้ว คุณพูดกับตัวคุณเอง “โห..เราไม่เคยเห็นโอกาสซื้อขายที่สุดยอดขนาดนี้มาก่อน รักเจ้ากราฟนี่จัง” จากนั้น คุณก็ดำเนินการเข้าซื้อขายด้วยรอยยิ้มกว้างๆบนใบหน้า(ประเภทเห็นฟันทุกซี่ เลย). แต่เดี่ยวก่อน .. ทันทีทันใด ราคาซื้อขายก็ขยับวูบไปถึง 30 จุด ในทิศทางตรงกันข้าม ! คุณรู้น้อยไปหน่อยว่า อัตราดอกเบี้ยได้ลดลงไปแล้วสำหรับเงินตราของคุณ และขณะนี้ทุกๆคนกำลังซื้อขายในทิศทางตรงกันข้าม รอยยิ้มกว้างก็กลายเป็นบูดเบี้ยวและ คุณเริ่มโกรธกราฟโยนคอมพิวเตอร์ของคุณลงไปกองบนพื้นแหลกละเอียด คุณเพิ่งสูญเสียเงินไปหนึ่งกล้อน, และมาตอนนี้คอมพิวเตอร์ของคุณก็พังซะแล้ว. ทั้งหมดนี้เพราะ คุณเพิกเฉยโดยสิ้นเชิงต่อการวิเคราะห์มูลฐานสรุป


-การ วิเคราะห์มีอยู่ 2 ประเภท : เชิงมูลฐาน และทางเทคนิค
-การวิเคราะห์ มูลฐาน คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ( ตัวอย่างเช่น ดอลลาร์แข็งขึ้นเพราะเศรษฐกิจของอเมริกากำลังแข็งแกร่งขึ้น)
-การ วิเคราะห์ทางเทคนิค คือการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวราคา การวิเคราะห์ทางเทคนิค = กราฟ
-การวิเคราะห์ทางเทคนิคยังช่วยระบุแนวโน้ม ที่สามารถช่วยเราค้นพบโอกาสทำกำไรในการซื้อขาย
-เพื่อเป็นนักค้าที่ สมบูรณ์, คุณต้องประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทั้งสองร่วมกัน


"เมื่อนัก เรียนพร้อม ครูจะปรากฏ"
-สุภาษิตชาวพุทธ


**************
แปล โดย ppong
ทีอยู่ rubsub


ป.ล หากแปลผิดไปบ้าง ต้องขอภัย จุดประสงค์ เพราะผู้แปลเองในฐานะผู้กำลังศึกษาเช่นกัน คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้สนจนศึกษา forex trade ที่ไม่ถนัดอ่านภาษาอังกฤษ


Credit http://www.iwebforex.com/2010/07/forex_4990.html


 


วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โปรโมชั่น EA ปี 2011

สวัสดี ครับ เพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ก่อนนหน้านี้ผมได้เคยประกาศ โปรโมชั่นราคาพิเศษของ EA เป็นการฉลองส่งท้ายปี 2553 และต้อนรับปี 2554 ผมได้คุยเจรจาต่อรองเงื่อนไขใหม่ให้พวกเราดังนี้ครับ



EA ราคาปกติ คือ 24,000 บาท   ราคาโปรโมชั่น เริ่มวันที่ 30/12/53-10/1/2554  คือ 18,000 บาท สามารถใช้งานได้ 2 บัญชี  ต้องเป็นชื่อเดียวกัน โดยไม่มีเงื่อนไขการฝากเงินครับ ข้อนี้ผมเป็นคนขอให้พวกเราครับ เป็นกรณีพิเศษ


สามารถเปิดใช้ได้กับโบรกเกอร์ดังนี้ครับ
  1. http://fxopen.myfxauto.com/
  2. http://nordfx.myfxauto.com/
  3. http://fxcompany.myfxauto.com/
  4. http://bmfn.myfxauto.com/
  5. http://fxprimus.myfxauto.com/
  6. http://ikofx.myfxauto.com/
ราคาพิเศษนี้ ถึงวันที่ 10 มกราคม 2554 เท่านั้น และจะต้องเปิดบัญชี ตามที่แจ้งเท่านั้น ไม่มีการบังคับการฝากเงินครับ 

หลังจากวันที่ 10 มกราคม 2554   ราคา EA จะปรับเป็น   24,000 บาท ตามเดิมครับ